หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
Bachelor of Public Health Program
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อย่อ (ไทย) : ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Public Health (Community Public Health)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.P.H. (Community Public Health)
อาชีพที่สามารถประกอบได้เมื่อสำเร็จการศึกษา
1.นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ หน่วยบริการปฐมภูมิ และสถานบริการสาธารณสุขชุมชนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2.อาชีพอิสระด้านการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.นักวิชาการ นักวิจัย ที่ปรึกษา ในหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอิสระของหน่วยงาน/องค์การ/ภาคเอกชน
4.ผู้ประกอบธุรกิจสุขภาพ ได้แก่ ธุรกิจการดูแลสุขภาพที่บ้าน ธุรกิจเสริมความงาม ธุรกิจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งสร้างบุคลากรทางด้านสุขภาพให้มีความรู้ ความสามารถ ในงานสาธารณสุข คิดวิเคราะห์การนำความรู้ และทักษะทางสาธารณสุขไปใช้ในการให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ และการประกอบอาชีพทางด้านธูรกิจด้านการให้บริการด้านสุขภาพ ได้แก่ ธุรกิจการดูแลสุขภาพที่บ้าน ธุรกิจเสริมความงาม ธุรกิจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยเน้นให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่องานสาธารณสุขอันจะนำมาซึ่งสุขภาวะที่ดี
วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วัน-เวลาราชการปกติ เรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังนี้
เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
1.มีความเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพสาธารณสุข
2.มีความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านสาธารณสุข การบริการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ สามารถให้บริการปฐมภูมิ แก่บุคคลแบบองค์รวมได้อย่างเหมาะสมกับบริบท และปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น
3.สามารถกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ
4.สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข
5.เป็นผู้นำทางด้านสาธารณสุข และการดูแลสุขภาพที่ดี สามารถช่วยประสานการบริการปฐมภูมิกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพ