สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Doctor of Education Program in Educational Administration

 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Education Program in Educational Administration


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ชื่อย่อ (ไทย) : ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Education (Educational Administration)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) Ed.D. (Educational Administration)


อาชีพที่สามารถประกอบได้เมื่อสำเร็จการศึกษา

ผู้บริหารระดับสูงสำหรับองค์การทางการศึกษาของภาครัฐและเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการศึกษา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา นักวิจัยด้านการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการศึกษาภาครัฐและเอกชน ผู้ประสานงานด้านการศึกษาระหว่างประเทศ


จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

แบบที่ 1 เน้นการทำวิจัย จำนวน 54 หน่วยกิต
แบบที่ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิจัย จำนวนไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต


วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

วัน-เวลานอกราชการ เรียนวันเสาร์ถึงวันอาทิตย์ เวลา 08.00-17.00 น.


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งใน และต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง (กรณีสมัครเข้าเรียนแบบ 1 ต้องทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับอย่างน้อย 1 ชิ้นงาน หรือมีงานที่มีคุณภาพตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร)
2. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการศึกษาตามที่คุรุสภากำหนด มีผู้บังคับบัญชาให้การรับรอง ยกเว้นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ซึ่งลงทะเบียนเรียนและมีหน่วยกิตของรายวิชาทางการบริหารจัดการ จำนวนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต ในระบบทวิภาคหรือเทียบเท่า หรือเคยเรียนในรายวิชาที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เห็นชอบ
3. ผ่านการสอบ TOEFL ระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า 500 หรือผลการสอบ IELTS หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า 5.0 โดยผลการสอบไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันสมัคร (ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วไม่เกิน 3 ปีการศึกษา)
4. กรณีผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ที่จะพิจารณา หากเห็นว่าพื้นฐานทางภาษาอังกฤษดีพอที่จะใช้ในการเรียนระดับดุษฎีบัณฑิตได้ ผู้บริหารหลักสูตรจะต้องดำเนินการให้สอบผ่านก่อนจบการศึกษา
5. มีผู้บังคับบัญชา ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือข้าราชการรับรองศักยภาพและความพร้อมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตได้
6. ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียร้ายแรง และมีบุคลิกภาพดี
7. ไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงหรือโรคอื่นที่สังคมรังเกียจ
8. เกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย